Re-Engineering การรีเอ็นจิเนียริ่งกระบวนการทางธุรกิจเป็นแนวคิดทางธุรกิจในทศวรรษที่ 1990 แต่ในทางปฏิบัติจริงก็ยังไม่ได้เป็นอะไรที่มากไปกว่าแนวคิดของการพัฒนาคุณภาพทั่วทั้งองค์การ หรือ Total Quality Management (TQM) ซึ่งมุ่งเน้นที่กระบวนการ
Reengineering หรือ “การรื้อปรับระบบ” เป็นคำที่ ไมเคิล แฮมเมอร์ และเจมส์ แชมปี้ ริเริ่มใช้ในหนังสือชื่อ Reengineering the Corporation ในฐานะที่เป็นคำประกาศการปฏิวัติธุรกิจ หรือ A Manifesto for Business Revolution เมื่อปี 1993 ก่อนที่จะเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดที่จัดโดย นิวยอร์ก ไทม์ และได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศกว่า 14 ภาษา ทำให้เป็นคำที่มีการกล่าวขานถึงอย่างกว้างขวาง
คำนิยามที่ถูกต้องและเป็นทางการของการรื้อปรับระบบ หรือ
Reengineering หรือ “การรื้อปรับระบบ” เป็นคำที่ ไมเคิล แฮมเมอร์ และเจมส์ แชมปี้ ริเริ่มใช้ในหนังสือชื่อ Reengineering the Corporation ในฐานะที่เป็นคำประกาศการปฏิวัติธุรกิจ หรือ A Manifesto for Business Revolution เมื่อปี 1993 ก่อนที่จะเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดที่จัดโดย นิวยอร์ก ไทม์ และได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศกว่า 14 ภาษา ทำให้เป็นคำที่มีการกล่าวขานถึงอย่างกว้างขวาง
คำนิยามที่ถูกต้องและเป็นทางการของการรื้อปรับระบบ หรือ
Reengineering คือ การพิจารณาหลักการพื้นฐานของกระบวนการทางธุรกิจ และการออกแบบขึ้นใหม่อย่างถอนรากถอนโคน เพื่อมุ่งบรรลุผลลัพธ์ของการปรับปรุงอันยิ่งใหญ่ โดยใช้มาตรวัดผลการปฏิบัติงานที่ทันสมัย และที่สำคัญได้แก่ ต้นทุน คุณภาพ การบริการ และความรวดเร็ว
ทั้งนี้ โดยมีคำศัพท์หลักที่สำคัญ ดังนี้
-พื้นฐาน (Fundamental) คำศัพท์หลักคำนี้เป็นคำถามพื้นฐานที่สุดและเป็นหัวใจสำคัญในการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง ซึ่งธุรกิจหรือองค์การจะต้องพิจารณาถึงพื้นฐาน สมมุติฐาน หรือกฎเกณฑ์ที่รองรับการดำเนินธุรกิจ และแฝงเร้นอยู่ในแนวทางปฏิบัติที่กำหนดขึ้นในการดำเนินงานหรือการดำเนินธุรกิจ โดยทั่วไป มักช่วยให้องค์การพิจารณาได้ว่าสมมุติฐานหรือกฎเกณฑ์นั้นผิดพลาด ไม่เหมาะสมหรือล้าสมัย ทั้งนี้ โดยการตั้งคำถามว่า “ทำไมเราจึงทำแบบนี้ ? ” , “ ทำไมเราจึงต้องทำอย่างที่เรากำลังทำอยู่ ? ” หรือ “ เราต้องทำอะไร หรือเราจะทำอย่างไร เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ? ” เป็นต้น
- ถอนรากถอนโคน (Radical) เป็นศัพท์ที่แผลงมาจากภาษาลาตินว่า Radix ซึ่งหมายถึง ราก การคิดหรือการออกแบบใหม่อย่างถอนรากถอนโคน หมายถึง การมุ่งที่รากแก้วของสิ่งทั้งหลาย ซึ่งไม่ใช่เพียงการปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือเพียงผิวเผิน แต่เป็นการทิ้งของเดิมไปทั้งหมดอย่างสิ้นเชิง หรือการออกแบบใหม่บนพื้นฐาน สมมุติฐาน หลักการ หรือกฎเกณฑ์ใหม่ทั้งหมด
- ยิ่งใหญ่ (Dramatic) คำศัพท์หลัก “ยิ่งใหญ่” หรือ “ใหญ่หลวง” ในที่นี้ เป็นการเน้นย้ำว่า การทำรีเอ็นจิเนียริ่งมุ่งสู่การกระทำที่จะนำมาซึ่งผลลัพธ์ของการทำงานที่ก้าวกระโดด หรือการบรรลุผลอันยิ่งใหญ่มโหฬาร เพราะความต้องการบรรลุเป้าหมายเพิ่มขึ้น การเพิ่มผลงาน หรือคุณภาพของผลงานเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่จำเป็นต้องอาศัยการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง เพียงใช้วิธีการปรับปรุง แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยก็น่าจะเพียงพอแล้ว
-กระบวนการ (Process) คำว่ากระบวนการ นับเป็นคำศัพท์หลักที่สำคัญอีกคำหนึ่ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความสับสนหรือยุ่งยากสำหรับการทำรีเอ็นจิเนียริ่งอีกคำหนึ่ง เนื่องจากผู้บริหารหรือผู้อยู่ในแวดวงธุรกิจมักไม่ได้ให้ความสนใจกับ “กระบวนการ” ในระยะที่ผ่านมา มักมุ่งที่ตัวงาน เนื้องาน โครงสร้าง หรือตัวบุคคลผู้ปฏิบัติงานมากกว่า “กระบวนการ” คือ กลุ่มของกิจกรรม ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมที่หนึ่ง หรือในกิจกรรมของการนำปัจจัยนำเข้า และกิจกรรมอื่น ๆ ตามลำดับ จนถึงกิจกรรมสุดท้ายที่เกิดเป็นผลลัพธ์หรือการได้รับปัจจัยนำออกที่มีคุณค่าเพิ่มขึ้น ตามแนวคิดของ อดัม สมิธ การดำเนินธุรกิจหรือการทำงานมักถูกแบ่งเป็นงานย่อย ๆ ที่ง่ายที่สุด เพื่อมอบหมายให้กับผู้ปฏิบัติงานที่เป็นผู้ชำนาญการเฉพาะด้าน ซึ่งเป็นผลให้ผู้ปฏิบัติงานในแต่ละงานมองไม่เห็นวัตถุประสงค์ที่ยิ่งใหญ่กว่าหรือละเลยผลลัพธ์สุดท้ายของการทำงานที่ต้องการอย่างแท้จริง แต่กลับมุ่งพิจารณาหรือให้ความสนใจอยู่กับแต่ละงานย่อยของกระบวนการดำเนินธุรกิจหรือกระบวนการดำเนินงานเท่านั้น
• แนวคิดการรื้อปรับระบบ (Reengineering) เป็นการปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำงานใหม่ ที่ไม่สนใจการทำงานแบบเดิมที่ผ่านมา เพื่อมุ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและก่อให้เกิดผลงานเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่า เพื่อเพิ่มผลผลิตลดเวลา ลดขั้นตอน ลดเอกสาร และลดค่าใช้จ่ายในการทำงาน ซึ่งระบบธุรกิจเอกชนนำมาใช้ปรับปรุงองค์กรในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาและเริ่มต้นนำมาใช้ในระบบราชการ
ขั้นตอนการรื้อปรับระบบ
ทั้งนี้ โดยมีคำศัพท์หลักที่สำคัญ ดังนี้
-พื้นฐาน (Fundamental) คำศัพท์หลักคำนี้เป็นคำถามพื้นฐานที่สุดและเป็นหัวใจสำคัญในการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง ซึ่งธุรกิจหรือองค์การจะต้องพิจารณาถึงพื้นฐาน สมมุติฐาน หรือกฎเกณฑ์ที่รองรับการดำเนินธุรกิจ และแฝงเร้นอยู่ในแนวทางปฏิบัติที่กำหนดขึ้นในการดำเนินงานหรือการดำเนินธุรกิจ โดยทั่วไป มักช่วยให้องค์การพิจารณาได้ว่าสมมุติฐานหรือกฎเกณฑ์นั้นผิดพลาด ไม่เหมาะสมหรือล้าสมัย ทั้งนี้ โดยการตั้งคำถามว่า “ทำไมเราจึงทำแบบนี้ ? ” , “ ทำไมเราจึงต้องทำอย่างที่เรากำลังทำอยู่ ? ” หรือ “ เราต้องทำอะไร หรือเราจะทำอย่างไร เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ? ” เป็นต้น
- ถอนรากถอนโคน (Radical) เป็นศัพท์ที่แผลงมาจากภาษาลาตินว่า Radix ซึ่งหมายถึง ราก การคิดหรือการออกแบบใหม่อย่างถอนรากถอนโคน หมายถึง การมุ่งที่รากแก้วของสิ่งทั้งหลาย ซึ่งไม่ใช่เพียงการปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือเพียงผิวเผิน แต่เป็นการทิ้งของเดิมไปทั้งหมดอย่างสิ้นเชิง หรือการออกแบบใหม่บนพื้นฐาน สมมุติฐาน หลักการ หรือกฎเกณฑ์ใหม่ทั้งหมด
- ยิ่งใหญ่ (Dramatic) คำศัพท์หลัก “ยิ่งใหญ่” หรือ “ใหญ่หลวง” ในที่นี้ เป็นการเน้นย้ำว่า การทำรีเอ็นจิเนียริ่งมุ่งสู่การกระทำที่จะนำมาซึ่งผลลัพธ์ของการทำงานที่ก้าวกระโดด หรือการบรรลุผลอันยิ่งใหญ่มโหฬาร เพราะความต้องการบรรลุเป้าหมายเพิ่มขึ้น การเพิ่มผลงาน หรือคุณภาพของผลงานเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่จำเป็นต้องอาศัยการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง เพียงใช้วิธีการปรับปรุง แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยก็น่าจะเพียงพอแล้ว
-กระบวนการ (Process) คำว่ากระบวนการ นับเป็นคำศัพท์หลักที่สำคัญอีกคำหนึ่ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความสับสนหรือยุ่งยากสำหรับการทำรีเอ็นจิเนียริ่งอีกคำหนึ่ง เนื่องจากผู้บริหารหรือผู้อยู่ในแวดวงธุรกิจมักไม่ได้ให้ความสนใจกับ “กระบวนการ” ในระยะที่ผ่านมา มักมุ่งที่ตัวงาน เนื้องาน โครงสร้าง หรือตัวบุคคลผู้ปฏิบัติงานมากกว่า “กระบวนการ” คือ กลุ่มของกิจกรรม ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมที่หนึ่ง หรือในกิจกรรมของการนำปัจจัยนำเข้า และกิจกรรมอื่น ๆ ตามลำดับ จนถึงกิจกรรมสุดท้ายที่เกิดเป็นผลลัพธ์หรือการได้รับปัจจัยนำออกที่มีคุณค่าเพิ่มขึ้น ตามแนวคิดของ อดัม สมิธ การดำเนินธุรกิจหรือการทำงานมักถูกแบ่งเป็นงานย่อย ๆ ที่ง่ายที่สุด เพื่อมอบหมายให้กับผู้ปฏิบัติงานที่เป็นผู้ชำนาญการเฉพาะด้าน ซึ่งเป็นผลให้ผู้ปฏิบัติงานในแต่ละงานมองไม่เห็นวัตถุประสงค์ที่ยิ่งใหญ่กว่าหรือละเลยผลลัพธ์สุดท้ายของการทำงานที่ต้องการอย่างแท้จริง แต่กลับมุ่งพิจารณาหรือให้ความสนใจอยู่กับแต่ละงานย่อยของกระบวนการดำเนินธุรกิจหรือกระบวนการดำเนินงานเท่านั้น
• แนวคิดการรื้อปรับระบบ (Reengineering) เป็นการปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำงานใหม่ ที่ไม่สนใจการทำงานแบบเดิมที่ผ่านมา เพื่อมุ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและก่อให้เกิดผลงานเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่า เพื่อเพิ่มผลผลิตลดเวลา ลดขั้นตอน ลดเอกสาร และลดค่าใช้จ่ายในการทำงาน ซึ่งระบบธุรกิจเอกชนนำมาใช้ปรับปรุงองค์กรในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาและเริ่มต้นนำมาใช้ในระบบราชการ
ขั้นตอนการรื้อปรับระบบ
1. การคิดค้นทบทวนใหม่ (Rethink)
2. การออกแบบกระบวนการทำงานใหม่(Redesign)
3. การเสริมเทคโนโลยี(Retool)
4. การฝึกอบรมบุคลากร(Retrain) การนำแนวคิดการรื้อปรับระบบมาใช้ในระบบราชการเพื่อมุ่งปรับเปลี่ยนทันคติผู้ปฎิบัติงานใหม่ ปรับลดขั้นตอนการทำงานลงเสริมการทำงานและปรับสภาพภูมิทัศน์ให้สวยงาม สะดวกในการทำงานซึ่งเป็นมิติใหม่ของการทำงานการให้บริการของหน่วยราชการ
ตัวอย่าง - การให้บริการฝากถอนเงินของธนาคาร(แบบเดิม)
• การฝากถอนเงินผ่านขั้นตอนหลายขั้นตอน
• มีพนักงานหลายคน แบ่งหน้าที่ ฝาก ถอน ตรวจสอบ อนุมัติ ผ่านพนักงานหลายคน
•ใช้เวลานานในการฝากถอน
• ระบบการตรวจสอบด้วยเอกสาร - การใก้บริการฝากถอนเงินของธนาคาร(แบบใหม่)
• การฝากถอนเงินมีขั้นตอนลดลง
• มีพนักงานคนเดียวทำหลายหน้าที่ ฝากถอนตรวจสอบ อนุมัติด้วยพนักงานคนเดียวกันใช้เวลาลดลง
• มีการมอบอำนาจ พัฒนาบุคลากร • มีระบบการตรวจสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์
Re-Engineering คือ การ ปรับเปลี่ยน กระบวนการทำงาน ทั้งระบบ พูดง่ายๆภาษาชาวบ้าน คือ โล๊ะ เป็นการ ปรับเปลี่ยน โครงสร้าง ขององค์กร บริษัท ทั้งระบบจุดไหนที่ก่อให้เกิน ความล่าช้า เช่น คนงาน พนักงาน ผู้บริหาร ไม่มีประสิทธิภาพ ก็จะทำการ เปลี่ยนแปลงทั้งระบบ (ไม่ใช่การปรับปรุงนะ) เป็นการเปลี่ยนใหญ่ ตัวอย่าง บริษัทหนึ่ง มียอดการผลิต ลดลงทุก ไตรมาศ ผู้บริหารระดับสูง หรือ เจ้าของกิจการ ก็อาจจะ พิจารณา กระบวนการทำงาน ทั้งระบบ แล้วก็เห็นว่า เป็นการยากที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้น เพราะอาจจะใช้เวลามาก จึงตัดสินใจเอาพนักงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ ออก (ล้างไพ่) แล้วทำการวางตำแหน่งงาน และดำเนินงานกันใหม่ เหมือนเปิด บริษัทใหม่ยังไงยังงั้น
-หัวใจสำคัญของการ Re-engineering อยู่ที่กระบวนการลักษณะสำคัญหรือจุดเน้นของการรื้อปรับระบบ หรือ การทำรีเอ็นจิเนียริ่งอยู่ที่ การมุ่งปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินงาน การทำความเข้าใจและปรับเปลี่ยนที่แนวคิดพื้นฐาน สมมุติฐาน หรือหลักเกณฑ์เดิม การเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน และการมุ่งสู่ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่หรือผลลัพธ์อันใหญ่หลวง
องค์ประกอบ ของ การรื้อปรับระบบ มี 6 ข้อ ดังนี้-จัดโครงสร้าง ให้เป็น At come เหมาะแก่ประสิทธิภาพ และ Output เหมาะแก่ประสิทธิผล-มีการกำหนดหน่วยงาน-หน่วยงานแต่ละหน่วยงาน ต้องมีการเก็บข้อมูล-เสมือนกระจุกตัว ถามไรรู้หมด-มีการเชื่อมโยงกระบวนการต่างๆไปพร้อมกัน-มีลักษณะ Online
Re-Engineering คือ การ ปรับเปลี่ยน กระบวนการทำงาน ทั้งระบบ พูดง่ายๆภาษาชาวบ้าน คือ โล๊ะ เป็นการ ปรับเปลี่ยน โครงสร้าง ขององค์กร บริษัท ทั้งระบบจุดไหนที่ก่อให้เกิน ความล่าช้า เช่น คนงาน พนักงาน ผู้บริหาร ไม่มีประสิทธิภาพ ก็จะทำการ เปลี่ยนแปลงทั้งระบบ (ไม่ใช่การปรับปรุงนะ) เป็นการเปลี่ยนใหญ่ ตัวอย่าง บริษัทหนึ่ง มียอดการผลิต ลดลงทุก ไตรมาศ ผู้บริหารระดับสูง หรือ เจ้าของกิจการ ก็อาจจะ พิจารณา กระบวนการทำงาน ทั้งระบบ แล้วก็เห็นว่า เป็นการยากที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้น เพราะอาจจะใช้เวลามาก จึงตัดสินใจเอาพนักงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ ออก (ล้างไพ่) แล้วทำการวางตำแหน่งงาน และดำเนินงานกันใหม่ เหมือนเปิด บริษัทใหม่ยังไงยังงั้น
-หัวใจสำคัญของการ Re-engineering อยู่ที่กระบวนการลักษณะสำคัญหรือจุดเน้นของการรื้อปรับระบบ หรือ การทำรีเอ็นจิเนียริ่งอยู่ที่ การมุ่งปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินงาน การทำความเข้าใจและปรับเปลี่ยนที่แนวคิดพื้นฐาน สมมุติฐาน หรือหลักเกณฑ์เดิม การเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน และการมุ่งสู่ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่หรือผลลัพธ์อันใหญ่หลวง
องค์ประกอบ ของ การรื้อปรับระบบ มี 6 ข้อ ดังนี้-จัดโครงสร้าง ให้เป็น At come เหมาะแก่ประสิทธิภาพ และ Output เหมาะแก่ประสิทธิผล-มีการกำหนดหน่วยงาน-หน่วยงานแต่ละหน่วยงาน ต้องมีการเก็บข้อมูล-เสมือนกระจุกตัว ถามไรรู้หมด-มีการเชื่อมโยงกระบวนการต่างๆไปพร้อมกัน-มีลักษณะ Online
เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) กับ
Business Process Reengineering (BPR)
ในโลกปัจจุบันนี้อาจกล่าวได้ว่าการแข่งขันทางด้านคุณภาพและนวัตกรรมของสินค้าและการให้บริการเข้ามามีความสำคัญมากกว่าการแข่งขันทางด้านขนาดองค์กรหรือต้นทุนสินค้า ในขณะที่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ Information Technology (IT) เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจอย่างไรก็ตามองค์กรส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์จากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือระบบคอมพิวเตอร์เพียงเพื่อเพิ่มความรวดเร็วของกระบวนงานดั้งเดิมเท่านั้น ซึ่งนั่นทำให้ปัญหาด้านประสิทธิภาพการทำงานยังถูกแก้ไม่ตรงจุด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางด้านประสิทธิภาพการทำงานไม่เพียงแต่การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เท่านั้น องค์กรต้องมีการ reengineering กระบวนงานที่เก่าและล้าสมัยด้วย ความคิดเกี่ยวกับ Business Process Reengineering (BPR) จึงเกิดขึ้น โดยมีหลักสำคัญคือการวิเคราะห์และ redesign กระบวนงานและกฏระเบียบเก่า ๆ ในขณะเดียวกันต้องเสริมสร้างกระบวนการนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยการคำนึงถึงกระบวนงานในภาพรวมขององค์กรเป็นหลัก แทนที่จะเป็นการมองไปที่กระบวนของของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง โดยมีหลักสำคัญดังนี้
1. เน้นที่ผลลัพธ์ การทำReengineeringให้ความสนใจที่เป้าหมาย (objective- or outcome-oriented) มากกว่าตัวงาน (tasks) ดังนั้นจึงสนับสนุนให้มีทีมงานเพียงหนึ่งทีมทำงานทุกขั้นตอนของกระบวนงานหนึ่ง ๆ เพื่อลด time-overhead ที่บุคคลต้องติดต่อหรือถ่ายทอดงานกันและเพิ่มประสิทธิภาพของงานเนื่องจากมีผู้ที่รู้กระบวนงานและสถานะทั้งหมดในภาพรวม
2. หน่วยงานเบ็ดเสร็จ คือแนวความคิดที่ให้ผู้ที่ต้องการผลของกระบวนงานเป็นผู้ดำเนินกระบวนงานนั้นเอง นั่นคือ หน่วยงานสามารถมีบทบาทและหน้าที่ได้มากกว่าหนึ่งบทบาท
3. รวมข้อมูล คือการผนวกรวมการผลิตและการประมวลผลข้อมูลให้อยู่ในบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานเดียวกัน
4. กระจายทรัพยากร ทรัพยากรขององค์กรควรมีการกระจายเพื่อเพิ่มความคล่องตัวและความสะดวกในการใช้งานแต่ต้องสามารถบริหารจัดการได้จากจุดเดียวซึ่งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ถูกนำมาใช้เพื่อช่วยองค์กรบริหารจัดการทรัพยากรที่กระจายเหล่านั้น เช่นข้อมูลสารสนเทศ เป็นต้น
5. ทำงานอย่างคู่ขนาน คือแนวความคิดให้องค์กรทำการเชื่อมโยงกิจกรรมที่ทำอย่างคู่ขนานกันในขณะที่มันกำลังดำเนินการอยู่แทนที่จะทำเป็นลำดับ
6. ลดลำดับการสั่งการ คือการทำระดับการบริหารให้แบนเรียบขึ้นและให้อำนาจการตัดสินใจในจุดที่เกิดกระบวนการทำงานขึ้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถตัดสินใจในงานที่เขาทำได้ด้วยตนเอง
7. ดึงข้อมูลจากแหล่งต้นทาง เพื่อเป็นการลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล ข้อมูลจึงควรถูกรวบรวมแค่ครั้งเดียวและจากแหล่งกำเนิดข้อมูลเอง แล้วค่อย share ผ่านทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ BPR ไม่ใช่งานที่ต่างคนต่างทำ แต่ต้องทำข้ามกระบวนงานซึ่งส่งผลกระทบต่อหลายหน่วยงานในองค์กร ดังนั้นการได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารจึงเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งสู่ความสำเร็จ ทั้งนี้นอกจากจะทำให้การควบคุมและตัดสินใจครอบคลุมกระบวนการทั้งหมดแล้ว ยังทำให้มองเห็นภาพรวมขององค์กรด้วย จะเห็นได้ว่าระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและBPRมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จึงควรพิจารณาในด้านที่ช่วยสนับสนุนการ redesign กระบวนงานทางธุรกิจให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ยกตัวอย่างเช่นการลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลโดยการเก็บในระบบฐานข้อมูลซึ่งให้แผนก-ส่วนต่างๆในองค์กรเข้าถึงได้จากที่เดียวและในขณะเดียวกันการมองกระบวนการทางธุรกิจก็ควรพิจารณาในด้านความสามารถที่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจะสามารถให้ได้ ด้วยเช่นกัน
แหล่งที่มาของข้อมูล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น